วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

               ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) 

35 lower court judges, 85 staff recover from Covid-19 | The Daily Star

: ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19  

         องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น "การระบาดใหญ่" หรือ pandemic หลังจากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลก ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ของสหรัฐฯ ระบุว่า เข้าเดือนที่ 7 การระบาดใหญ่ที่เริ่มจากจีน ทำให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทั่วโลกแล้วกว่า 26 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตกว่า 8 แสนราย ใน 188 ประเทศ เขตเศรษฐกิจและดินแดน ทั่วโลก

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่คืออะไร

      โลกได้รับรู้เรื่องโรคติดต่อปริศนา หลังจากทางการจีนยืนยันเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 ว่าเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนา" ก่อนหน้านี้ พบไวรัสโคโรนามาแล้ว 6 สายพันธุ์ ที่เคยเกิดการระบาดในมนุษย์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7 คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน โดยพบการระบาดครั้งแรกปลายปี 2002 เริ่มจากพื้นที่มณฑลกวางตุ้งของจีน ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในหลายประเทศ จนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 800 คนทั่วโลก

                องค์การอนามัยโลก ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-ไนน์ทีน" (Covid-19) ขณะที่คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยาของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้ใช้ชื่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Covid-19 ว่า SARS-CoV-2 หรือไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 ) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส

ที่มาของโรค

        ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่า ไวรัสชนิดนี้อาจเริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน โดยมีต้นตอของการแพร่ระบาดจากงูเห่าจีน (Chinese cobra) และงูสามเหลี่ยมจีน (Chinese krait) ที่นำมาวางจำหน่ายในตลาดสดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานที่พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆ ทีมผู้วิจัยสันนิษฐานว่า งูอาจเป็นสัตว์ตัวกลางที่ส่งต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาสู่คน เนื่องจากงูพิษที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติล่าค้างคาวในถ้ำเป็นอาหาร แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ในร่างกายของทั้งสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างไร

อาการ

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า หากผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดของโรคมีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที

เราจะป้องกันตัวได้อย่างไร

       ปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจนว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แพร่กระจายจากคนสู่คนได้อย่างไร แต่เชื้อไวรัสชนิดคล้ายกันแพร่ผ่านทางละอองของเหลวที่ออกมาจากการไอและจาม

แนวปฏิบัติในการป้องกัน COVID-19



การป้องกันการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019

  1. ล้างมือบ่อย ๆ – ล้างมือบ่อย ๆ ถูให้สะอาดทุกซอกทุกมุม แนะนำให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือถ้าเป็นเจลล้างมือก็ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% วิธีนี้จะช่วยฆ่าเชื้อไวรัสที่อาจแฝงอยู่บนมือของคุณได้
  2. เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) – อยู่ให้ห่างจากคนที่จามหรือไอที่ระยะ 1-3 เมตรเพื่อความปลอดภัยสูงสุด เพราะทุกครั้งที่มีการจามหรือไอ จะมีละอองฝอยเล็ก ๆ กระจายออกมาจากจมูกหรือปาก ซึ่งอาจมีไวรัสโคโรน่าหรือไวรัสชนิดอื่น ๆ ตามมาก็ได้ ถ้าคุณอยู่ใกล้คนที่จามหรือไอมากเกินไป คุณก็จะสูดเอาฝอยละอองที่ว่านี้เข้าไป และถ้าคนที่จามหรือไอมีเชื่อ COVID-19 คุณก็จะมีโอกาสติดแน่นอน นอกจากนี้ Social Distancing ก็ยังหมายถึงการลดกิจกรรมทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแน่นหนา และเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันมาก ๆ (mass gathering) ด้วย
  3. เลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก – มือที่เราหยิบจับสิ่งของอาจจะสัมผัสไวรัสโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อไวรัสปนเปื้อนมาแล้วก็จะแพร่เชื้อผ่านตา จมูก หรือปากของเรา ทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายและคุณป่วยได้ ดังนั้นอย่าจับตา จมูก และปากโดยที่ไม่ได้ล้างมือเป็นอันขาด
  4. ปิดปากและจมูกเมื่อจามหรือไอ – สอดส่องดูแลสุขอนามัยของคุณและคนใกล้ตัว ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ทุกครั้งที่จามหรือไอ จากนั้นก็ให้ทิ้งทันที เพราะฝอยลออองจากการจามหรือไอเป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสชั้นดี ซึ่งหากคุณทำตามนี้แล้วก็จะป้องกันผู้คนรอบข้างไม่ให้ติดไข้ ติดหวัด หรือติด COVID-19 จากคุณได้
  5. ถ้ามีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ให้พบแพทย์ทันที – ถ้ารู้สึกไม่สบายให้อยู่บ้านเท่านั้น ถ้ามีไข้ ไอ และอาการหายใจลำบากให้พบแพทย์ทันที แนะนำให้โทรสอบถามทางโรงพยาบาลก่อนเพื่อขอคำแนะนำและแนวทางกางปฏิบัติตัวเพื่อปกป้องตัวคุณเองและป้องกันไม่ให้คนอื่นติดเชื้อ
  6. เลี่ยงการเดินทาง  เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ถ้าจะให้ดีอยู่แต่บ้านจะปลอดภัยที่สุด
  7. ดูแลตัวเองเมื่อออกนอกบ้าน  สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ใช้บริการรถโดยสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า MRT, BTS รถเมล์ รถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่งแท็กซี่กับแกรบ (Grab) พกเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างไม่ต่ำกว่า 70% เพื่อทำความสะอาดมือที่สัมผัสกับราวโหนรถเมล์ ที่จับบนรถไฟฟ้า และรถบริการส่วนบุคคลต่าง ๆ
  8. เลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ – ไม่ควรใกล้ชิดหรือสัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่มีการป้องกัน เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
  9. ใส่ใจเรื่องการทานอาหาร – กินอาหารที่สุกและสะอาด ห้ามแชร์อาหาร หรือใช้ช้อนส้อม จานชาม และหลอดเดียวกัน กินอาหารจานเดียวของใครของเรา
  10. รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ – รักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  11. พบใครไม่กักตัว โทรแจ้งสายด่วนควบคุมโรคทันที – หากเพื่อนบ้านของคุณเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแต่ไม่กักตัว 14 วัน สามารถโทรแจ้งสายด่วนควบคุมโรคได้ทันทีที่ 1422 แต่หากโทรไม่ติดให้แจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลใกล้บ้านแทน
  12. ติดตามข่าวสารและให้ความรู้พนักงาน – สำหรับเจ้าของธุรกิจ ควรติดตามข่าวสารและอัพเดตข้อมูลเป็นประจำเพื่อให้ความรู้พนักงานในการดูแลและป้องกันตัวเองจาก COVID-19 อย่างถูกต้อง รวมถึงแจ้งแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจในการรับมือ COVID-19 ของร้านเพื่อลดความตื่นตระหนก
สถิติการระบาดของไวรัสโคโรน่า
โรคโควิด-19 ระบาดเพิ่มขึ้นทั่วโลก สถานการณ์รุนแรงน่าเป็นห่วง | สยามรัฐ


 



วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563


5G, AI และ IoT เทรนด์เทคโนโลยี


จับตาปี 2020 “5G” เปลี่ยนโลก! ผู้บริโภคใช้ “AI – IoT” ได้จริง ...


          ชี้การเกิดขึ้นของ 5G, IoT และ AI เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคอย่างสิ้นเชิงขณะที่ประเด็นด้านความยั่งยืนจะถูกยกระดับความสำคัญ แก้ปัญหาผ่านเทคโนโลยีและกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน
 
        นายจอห์น ทาเล แซนเบิร์ก หัวหน้าฝ่ายวิจัย เทเลนอร์ รีเสิร์ช กล่าวว่า "ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คนและสังคมอย่างมาก"

       ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคได้เริ่มตระหนักถึงบทบาทและการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น AI, Machine learning และ IoT และนี่คือ 9 ประเด็นทางเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020 ซึ่งจะเป็นปีที่น่าตื่นเต้นที่สุด
 
1. นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
         กระแสความตื่นตัวประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นมากกว่าการสร้างความตระหนักหรือการสร้างความเข้าใจเพราะนวัตกรรมจะเข้ามา มีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นไอโอทีบิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ เพื่อลดการใช้ปริมาณการใช้ทรัพยากรอันเป็นส่วนหนึ่งของการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
   

  

 2. ร่างกายจะคอนเน็คกับอินเทอร์เน็ตกว่าที่เคย

       เทคโนโลยี IoTส่วนมากได้รับการพูดถึงในวงจำกัดอย่างอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ภาคการผลิตและเกษตรกรรมซึ่งยังนับว่าไกลตัวกับผู้บริโภคผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะได้สัมผัสเทคโนโลยี IoT มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพและการแพทย์ โดยเทคโนโลยี IoT จะถูกผนวกเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างกาย เช่นความดันเลือด ปริมาณออกซิเจนในเลือด ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาระดับอินซูลินในเลือด ซึ่งอุปกรณ์ IoT ที่ได้รับการพัฒนาจะลดเวลาระหว่างการอ่านค่าอินซูลินและการฉีดยาเข้าร่างกาย เพราะกรณีนี้ผู้ป่วยรอไม่ได้
     

 

  

    3. 5G เปลี่ยนโฉมหน้าพฤติกรรม

 โดยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นรวมไปถึง นวัตกรรมหลังบ้านที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการก่อให้เกิดสินค้าและบริการที่พัฒนามาจาก 5G ซึ่งนวัตกรรมที่ว่านี้คือ Network Slicing ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างเชิงสถาปัตย์ของเน็ตเวิร์คให้เป็นระบบเสมือน ซึ่งจะทำให้ความหน่วง (Latency) ของการรับส่งข้อมูลลดลง มีความแม่นยำในการควมคุมจากระยะไกล ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก IoT ได้เต็ม ศักยภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น สาธารณสุข การขนส่ง และความมั่นคง

 

    4. ปรากฏการณ์ “Dirty Data” รูปแบบใหม่

ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในการคัดกรองข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ไม่เพียง fake newsหรือข่าวปลอมที่เป็นภัยบนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้น แต่ยังรวมไปถึง Dirty Dataซึ่งได้รับการนิยามว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปะปนอยู่ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ทำให้การประมวลผลข้อมูลผิดพลาดตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้การประมวลผลข้อมูลต่างๆ ผ่าน AI หรือ machine learningต่างๆ ผิดพลาด ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด

 


 
  5. “ความน่าเชื่อถือถูกยกระดับความสำคัญ

         “ความน่าเชื่อถือ” เรียกได้ว่าเป็นตัวกลางของการใช้บริการทาง               ออนไลน์แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีข่าวคราวที่บริษัทผู้ให้บริการ               โซเชียลมีเดียนำข้อมูลของผู้ใช้บริการออกสู่ระบบไปยัง third                     party เช่น บริษัทโฆษณาทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจของผู้ใช้                           บริการ บริการลดลง” ดังนั้นในปี2020 จะเห็นแนวโน้มที่ว่าผู้บริโภค            ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้นและนั่นทำให้           ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียต่างปรับปรุงและเสริมความแข็งแกร่ง  


    6. eSIM จะมีการใช้อย่างแพร่หลาย
 
        eSIM จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอยู่ทุกวัน ไม่จำกัดแค่เพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต แต่จะมากับของใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมาพร้อมกับเทคโนโลยี IoT และ 5G ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า eSIM จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในปี 2020 และจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคแบบไม่เคยเป็นมาก่อน
 
   7. ปีแห่งสนามรบของ Streaming TV
 
        หลังจากที่ Netflix ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบความบันเทิงของผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง ผ่านรูปแบบ สตรีมมิ่งทำให้ผู้ผู้คอนเทนท์และเจ้าของแพลทฟอร์มรายอื่นอย่าง AppleTV+ และ Disney+ เข้ามาขอแชร์ส่วนแบ่งในตลาด ซึ่งในปี 2020 จะได้สนามรบทั้งคอนเทนท์ที่หลากหลายและราคาจากผู้เล่นเหล่านี้อย่างแน่นอน
 
  8. กฎเกณฑ์ใหม่คุมบิ๊กเทค
 
        บิ๊กเทคที่จะถูกควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการจัดเก็บภาษี ข้อมูลส่วนบุคคล ความมั่นคง ตลอดจนข้อห้ามที่เกี่ยวกับการโฆษณาเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง  หลังจากเหตุการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนในสังคมตั้งคำถามถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากบริการของบิ๊กเทคเหล่านี้
 
  9. ป้องกัน Phone scam ด้วย Machine learning

        ในปีที่ผ่านมา Phone scam หรือภัยที่เกิดจากการหลอกหลวงผ่านโทรศัพท์มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งมาในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งมิสคอล การโทรออกผ่านหุ่นยนต์ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต่างมีเล่ห์กลในการหลอกล่อเอาเงินจากเหยื่อ แต่เพื่อลดและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ในปี 2020 Machine learning จะเข้ามามีบทบาทและเป็นเครื่องมือในการป้องกัน Phone scam ที่เกิดขึ้น

ฟอร์มของนางสาวปิยะนุช นิ่มนวล

กำลังโหลด…